หน้าหลัก
Home
ข้อมูลทั่วไป
Information
บุคลากร
Personnel
แผนพัฒนา
Plan
งานการคลัง
Finance
รายงาน
Report
ศูนย์ข้อมูล
Data Center
 
  องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกราด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา : www.nongkrad.go.th
 
 



วิสัยทัศน์ / พันธกิจ

 

วิสัยทัศน์ (Vision)

 "พัฒนาทุกด้าน  บริหารโปร่งใส  จิตใจอาสา  ชาวหนองกราดมีคุณภาพชีวิตที่ดี  ชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน"

 

วิสัยทัศน์องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกราด

        องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกราดได้กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) เพื่อเป็นสภาพการณ์ในอุดคมคติซึ่งเป็นจุดหมายและปรารถนาคาดหวังที่จะให้เกิดขึ้นหรือบรรลุผลในอนาคตข้างหน้า  องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกราดเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ประเภท สามัญ   มีประชากรส่วนใหญ่กระจายกันอยู่เป็นหมู่บ้านและอยู่อย่างสงบสุข    ประกอบอาชีพการเกษตรเป็นหลักโดยใช้แนวทางเกษตรอินทรีย์ จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ ดังนี้

 

2.2 ยุทธศาสตร์

1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิต

4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม

5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

 

          2.3 เป้าประสงค์

1. เพื่อก่อสร้างและซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐานในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลให้มีความสะดวกและเพียงพอ  เช่น ด้านคมนาคมภายในหมู่บ้าน  นอกหมู่บ้าน  พื้นที่การเกษตร  ตลอดจนระบบสาธารณูปโภค    และพัฒนาแหล่งน้ำทุกชนิด

2. เพื่อสนับสนุนเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในทุกระดับ บุคคล ครอบครัว ชุมชน  โดยเฉพาะผลผลิตด้านการเกษตร ปศุสัตว์ ลดปัญหาการว่างงาน ลดหนี้สินของภาคการเกษตร ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งน้ำท่องเที่ยว

3. เพื่อเสริมสร้างพัฒนาชุมชน  ประชาชนภายในหมู่บ้าน   ทั้งด้านร่างกายจิตใจ   สุขภาพอนามัย  ด้าน สวัสดิการ  และสังคม   ด้านกีฬานันทนาการ   ประเพณี   วัฒนธรรมอันดีงาม

4. เพื่อพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม  และส่งเสริมการอนุรักษ์  บำรุงรักษาทรัพยากร ธรรมชาติ   ตลอดจนการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ส่วนราชการ  หมู่บ้าน  โดยเฉพาะที่สาธารณะประโยชน์

5. เพื่อสนับสนุนประชาชนทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วม ในการพัฒนาตำบล สนับสนุนกระบวนการประชาคม ให้ความรู้ความเข้าใจในด้านกฎหมาย  การเมือง  การปกครอง พัฒนาบุคลากร ทั้งในและนอกสำนักงาน  พัฒนาการจัดเก็บภาษี   จัดหาวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือในการปฏิบัติงาน

  

 

 

 

 

 

        2.4 ตัวชี้วัด

1. กรณีโครงการโครงสร้างพื้นฐาน วัดคุณภาพงานจากการที่ คกก.ตรวจรับงานจ้างตรวจรับงานโดยจะต้องได้คุณภาพงานที่ดี ไม่มีปัญหาและข้อท้วงติง

2. กรณีโครงการด้านอื่นๆ วัดจากการบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในโครงการทุกประการ

2.5 ค่าเป้าหมาย

1. เพื่อก่อสร้างและซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐานในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลให้มีความสะดวกและเพียงพอ  เช่น ด้านคมนาคมภายในหมู่บ้าน  นอกหมู่บ้าน  พื้นที่การเกษตร  ตลอดจนระบบสาธารณูปโภค    และพัฒนาแหล่งน้ำทุกชนิด

2. เพื่อสนับสนุนเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในทุกระดับ บุคคล ครอบครัว ชุมชน  โดยเฉพาะผลผลิตด้านการเกษตร ปศุสัตว์ ลดปัญหาการว่างงาน ลดหนี้สินของภาคการเกษตร ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งน้ำท่องเที่ยว

3. เพื่อเสริมสร้างพัฒนาชุมชน  ประชาชนภายในหมู่บ้าน   ทั้งด้านร่างกายจิตใจ   สุขภาพอนามัย  ด้าน สวัสดิการ  และสังคม   ด้านกีฬานันทนาการ   ประเพณี   วัฒนธรรมอันดีงาม

4. เพื่อพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม  และส่งเสริมการอนุรักษ์  บำรุงรักษาทรัพยากร ธรรมชาติ   ตลอดจนการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ส่วนราชการ  หมู่บ้าน  โดยเฉพาะที่สาธารณะประโยชน์

5. เพื่อสนับสนุนประชาชนทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วม ในการพัฒนาตำบล สนับสนุนกระบวนการประชาคม ให้ความรู้ความเข้าใจในด้านกฎหมาย  การเมือง  การปกครอง พัฒนาบุคลากร ทั้งในและนอกสำนักงาน  พัฒนาการจัดเก็บภาษี   จัดหาวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือในการปฏิบัติงาน

         2.6 กลยุทธ์

การกำหนดจุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกราด กำหนด

การพัฒนาที่ครอบคลุมกิจกรรมต่างๆขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกราด ที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนา จำนวน 5 ยุทธศาสตร์ และ 9 กลยุทธ์ ดังนี้

  1.  กลยุทธ์ก่อสร้างและปรับปรุงบำรุงถนน สะพาน ทางเท้า ท่อระบายน้ำ รางระบายน้ำ งานขุดลอก ระบบประปา และโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ
  2. กลยุทธ์การพัฒนาด้านสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต
  3. กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตย
  4. กลยุทธ์ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  5. กลยุทธ์การส่งเสริมทางการเกษตร
  6. กลยุทธ์ด้านการแก้ไขและป้องกันยาเสพติด
  7. กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการเกษตร
  8. กลยุทธ์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
  9. กลยุทธ์ด้านการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีรักษาอัตตลักษ์ของท้องถิ่น

 

 

 

       2.7 จุดยืนทางยุทธศาสตร์

1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

  1. ก่อสร้าง  และปรับปรุงบำรุงถนน สะพาน ทางเท้า  ท่อระบายน้ำให้เป็นไปด้วยความสะดวก
  2. ก่อสร้าง  และปรับปรุงบำรุงถนน   เพื่อการเกษตรให้เป็นไปด้วยความสะดวก
  3. ก่อสร้าง  และขยายเขตการบริการประปาหมู่บ้าน
  4. ก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษาแหล่งน้ำ ขุดลอก คูคลอง เพื่อการอุปโภคบริโภค และเพื่อการเกษตร
  5. ก่อสร้าง  ปรับปรุง  ซ่อมแซมภาชนะกักเก็บน้ำฝน
  6. ก่อสร้าง  ปรับปรุง  ซ่อมแซมระบบไฟฟ้าสาธารณะ

2.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

          1. ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพ  และขีดความสามารถในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร  และทำการเกษตรไร้สารพิษ

2. ส่งเสริมพัฒนาการทำเกษตรแบบพึ่งพากันเองในหมู่การเกษตร  โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ   และสารกำจัดศัตรูพืชแบบไร้สารพิษ

3. ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์น้ำ  สัตว์บก  และพัฒนาปศุสัตว์

4.ส่งเสริมพัฒนา  และสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ

3.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิต

1.  การพัฒนาส่งเสริมด้านสุขภาพ   และอนามัยของประชาชน

          2.  การพัฒนาและส่งเสริมด้านสวัสดิการสังคม  ชุมชน

          3.  การพัฒนาส่งเสริมด้านกีฬา และนัทนาการ

4.  การพัฒนาและส่งเสริมการศึกษาในทุกระดับทั้งในสถานศึกษา      และนอกสถานศึกษา    

5.  การพัฒนาและสิ่งเสริมอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรม

การพัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมด้านการป้องกันปัญหายาเสพติด   และสาธารณภัย

4.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม

1. ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ส่วนราชการ  หมู่บ้าน  และที่สาธารณะประโยชน์

2. ส่งเสริมและก่อสร้าง  ปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยว  สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

3. ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ  เพื่อปรับปรุงคุณภาพดิน  ให้เหมาะสมแก่การปลูกพืช  และส่งเสริมการพัฒนาปลูกพืชหมุนเวียน

4. ส่งเสริมพัฒนาแหล่งน้ำ  คูคลอง  ให้สะอาด  และไม่ตื้นเขิน

5. ให้ความรู้แก่ประชาชน  และปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อม     

          5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

           1.  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปประชาคม

              2.  ส่งเสริม และให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการขององค์การบรหารส่วนตำบลระบอบประชาธิปไตย   ตลอดจน กฎหมาย  ที่ประชาชนควรรู้

3.  ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร  พนักงานท้องถิ่น  สมาชิกสภา  ตัวแทนประชาคม  ผู้นำท้องที่  ให้มีความความสามารถ  มีคุณธรรมและจริยธรรม ในการปฏิบัติงาน

        4. การพัฒนารายได้ การปรับปรุงแหล่งรายได้ โครงการจัดทำระบบการจัดเก็บภาษีโดยแผนที่ภาษี  

        5.  การจัดหาและปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้   และสถานที่ให้เพียงพอ  และมีประสิทธิภาพ

               6. การให้บริการแก่ประชาชนทั้งใน  และนอกสำนักงานรวมทั้งให้บริการประชาชนตามระบบธรรมาธิบาลที่ดี

            2.8 ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ในภาพรวม

          การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปีขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกราดมีความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์

ในภาพรวม  ดังนี้

กล่องข้อความ: ยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อบต.หนองกราด                  

 

         

 

           
 
 
   
 
    กล่องข้อความ: จุดยืนทางยุทธศาสตร์
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

     3. การวิเคราะห์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น

          3.๑ การวิเคราะห์กรอบการจัดทำยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                   ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรได้ใช้การวิเคราะห์ SWOT Analysis/Demand (Demand Analysis)/Global Demand และ Trend ปัจจัยและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนา อย่างน้อยต้องประกอบด้วย การวิเคราะห์ศักยภาพด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านทรัพย์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

๑.๑)  จุดแข็ง (S : Strength)

-  ประชาชน  ผู้นำหมู่บ้าน  มีความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับทางราชการในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง

-  หมู่บ้านเข้มแข็งได้รับการบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐานครบถ้วน

-  มีเส้นทางสัญจรเป็นไปด้วยความสะดวก

-  ประชาชนยังยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น 

-  ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว อ้อยและมันสำปะหลัง เลี้ยงสัตว์  ฯลฯ

๑.๒)  จุดอ่อน (W : Weakness)

-  คนในวัยทำงาน คนหนุ่มสาวอพยพไปหางานทำในเมืองและต่างประเทศ

-  ราษฎรยากจน  ส่วนใหญ่ประชาชนประกอบอาชีพทางการเกษตรเพียงอย่างเดียวทำให้ขาดรายได้

-  ประชาชนไม่สามารถรวมกลุ่มกันเพื่อดำเนินการด้านเศรษฐกิจของหมู่บ้านในรูปของกลุ่มอาชีพอย่างเข้มแข็ง

-  ขาดแหล่งเก็บกักน้ำเพื่อการอุปโภค  บริโภคและเพื่อการเกษตรไม่เพียงพอ 

-  ขาดแหล่งงานรองรับ  แรงงานว่างงานนอกฤดูกาล

-  ไม่มีสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่  ไม่มีโรงงานในพื้นที่

-  องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกราด  ขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน  เช่น ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฯลฯ ประกอบกับเครื่องมือไม่เพียงพอ เนื่องจากงบประมาณจำกัด

๑.๓)  โอกาส (O : Opportunity)

-  จังหวัดนคราชสีมา  สามารถสนับสนุนงบประมาณให้องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกราด ที่มีแผนงาน/โครงการตามแนวทางยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด                                 

-  มีเส้นทางคมนาคมสะดวก  สามารถรองรับการขยายตัวของการลงทุนทางเศรษฐกิจ

-  ได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐเป็นอย่างดี  การปฏิรูป  ระบบราชการทำให้พนักงานเกิดความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน

รัฐบาลมีนโยบายให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง

๑.๔)  ข้อจำกัด (T : Threat)

-  ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกราด เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ประเภท สามัญ  มีงบประมาณจำกัดเมื่อเทียบกับภารกิจหน้าที่ต่างๆ  ตามกฎหมายที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกราดตามกฎหมายอื่น  ตามภารกิจถ่ายโอนฯ  ตามนโยบายท้องถิ่น  นโยบายจังหวัดและนโยบายรัฐบาล

-  งบประมาณที่ได้รับจากส่วนกลาง ไม่เพียงพอในการบริหารงาน

-  กฎหมายและระเบียบต่างๆ ในการปฏิบัติงานทำให้ขาดความคล่องตัวในการบริหารงาน

-  การถ่ายโอนภารกิจต่างๆ ไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน  ทำให้การปฏิบัติงาน เกิดความล่าช้าไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

         -  การพัฒนาบางด้านต้องเป็นไปตามกฎหมาย จึงไม่สามารถดำเนินการแก้ปัญหาได้  ต้องอาศัยความเสียสละของหมู่บ้านเท่านั้น  ซึ่งบางครั้งก็ทำได้ยากมาก

การวิเคราะห์ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรส่วนใหญ่ทำการเกษตร เช่น ข้าว อ้อย  มันสำปะหลัง  ตามลำดับ  รายได้ส่วนมากมาจากการทำการเกษตร  ประชากรบางส่วนมีรายได้จากการรับจ้างทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่หมู่บ้านในเขตตำบลหนองกราด ซึ่งภาวะเศรษฐกิจของตำบลหนองกราดจึงไม่เท่ากัน ไม่มีการเก็บออม สาเหตุเป็นเพราะว่าราคาผลผลิตทางการเกษตรต่ำค่าครองชีพสูง  มีเงินแต่ซื้อของได้น้อยลง  ประชากรมีพื้นที่ในการทางเกษตรบางส่วนในที่ที่มีน้ำท่วมเป็นประจำ  บางพื้นที่ภาวะฝนทิ้งช่วง มีพื้นที่ในการทำการเกษตรน้อย การขยายตัวของประชากรเพิ่มขึ้นมาก เริ่มเกิดเป็นชุมชนแออัดและส่งผลกระทบกับสภาวะแวดล้อม  เช่น ปริมาณการปล่อยน้ำเสียจากครัวเรือนลงสู้รางระบายน้ำมีมากขึ้น  องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกราดได้แก้ไขปัญหาโดยจัดโครงการส่งเสริมอาชีพ  เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เสริมจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม  อุดหนุนกลุ่มอาชีพในชุมชน  แต่การพัฒนาด้านนี้ยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์เท่าที่ควร  เนื่องจากกลุ่มอาชีพต่างๆ ยังขาดความรู้ด้านการบริหารจัดการและความรู้ด้านการตลาด 

                    การวิเคราะห์ข้อมูลสังคม         

Ø ด้านแรงงาน

จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า  ประชากรที่มีอายุ  ๑๕ – ๖๐  ปี อยู่ในกำลังแรงงาน แต่

ค่าแรงในพื้นที่ต่ำกว่าระดับจังหวัด  โดยเฉพาะแรงงานด้านการเกษตร  ประชากรอายุระหว่าง  ๒๕ – ๕๐ ปี บางส่วน ไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่  รวมทั้งแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ  ปัญหาที่พบคือ ประชากรต้องไปทำงานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม  บริษัท  ห้างร้านใหญ่ๆ  เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานเยอะ เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัย  ปัญหานี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้

Ø ด้านสุขภาพและสาธารณสุข

          จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า  ประชาชนกรส่วนมากมีสุขภาพที่ดี  มีการคัดกรองสุขภาพให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง  โรคที่มักเกิดแก่ประชากรในชุมชน เช่นกัน  ได้แก่ โรคความดัน เบาหวาน  โรคเอดส์  โรคไข้เลือดออก  มือ-ปาก-เท้าในเด็ก และโรคอื่นๆ อีกมาก มีสถิติเข้ารับการรักษาพยาบาล  ปัญหาคือประชาชนบางรายไม่ยอมไปคัดกรองหรือตรวจสุขภาพประจำปี  การแก้ไขปัญหา คือ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกราดและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกราด  ได้จัดกิจกรรมร่วมมือกันรณรงค์ให้ชุมชนเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ซึ่งก็ได้ผลในระดับหนึ่ง  ประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี  แต่ต้องเป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี  สำหรับเด็กแรกเกิด - ๖  ปี  ผู้ปกครองสามารถเลี้ยงดูตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน บางครัวเรือนไม่ได้กินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ  การใช้ยาเพื่อบำบัดอาการเจ็บป่วยที่ไม่เหมาะสม  การออกกำลังกายยังไม่สม่ำเสมอ  และประชากรส่วนมากไม่ได้รับการตรวจสุขภาพ  ปัญหาเหล่านี้องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกราดพยายามอย่างยิ่งที่จะแก้ไข  โดยร่วมมือกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกราดจัดกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา 

Ø ด้านการศึกษา

                             จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรอายุ ๑๕ – ๖๐ ปีเต็ม ร้อยละ ๙๙  อ่าน  เขียนภาษาไทยและคิดเลขอย่างง่ายได้  เด็กอายุ  ๖ – ๑๔  ปี  ร้อยละ  ๑๐๐ ได้รับการศึกษาภาคบังคับ และที่ไม่ได้เรียนต่อมีงานทำ ร้อยละ  80  ด้านการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี  ปัญหาคือ  ยังไม่สามารถที่จะแข่งขันกับเมืองใหญ่ๆ ได้  การแก้ปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกราด ได้จัดกิจกรรมให้กับเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  การสนับสนุนอาหารเสริมนม  อาหารกลางวัน ในกับทางโรงเรียนในเขตพื้นที่ และร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ กับทางโรงเรียน

Ø ด้านค่านิยมของคนในพื้นที่

                             จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า  ประชากรมีกิจกรรมทางศาสนา(พุทธ)    ประชากรในเขตตำบลหนองกราดให้ความร่วมมือกันทำกิจกรรมสาธารณะต่างๆ  ผู้สูงอายุ  ผู้พิการได้รับการดูแล  ปัญหาคือ ประชากรในครัวเรือนมีการดื่มสุรา สูบบุหรี่ รวมทั้งที่เป็นครั้งคราว บางครัวเรือนขาดความอบอุ่น  การแก้ปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกราดคือ จัดกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน  พยายามที่จะให้ทุกส่วนทุกฝ่ายทุกคนมีส่วนร่วมและรณรงค์ให้เห็นถึงโทษของการดื่มสุรา  ให้หมู่บ้านเห็นความสำคัญของครอบครัว  เช่น  การแข่งขันกีฬาชุมชน  แอโรบิคแด๊นส์  งานประเพณี  เป็นต้น

                             Ø ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

                   จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า  ส่วนมากครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี  มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ที่ไม่มีการป้องกันอุบัติเหตุ  อาชญากรรม  วิธีการแก้ปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกราดที่สามารถดำเนินการได้ตามอำนาจหน้าที่และงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด  คือได้ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด จุดบริการ  ในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน  แต่ปัญหาที่พบเป็นประจำคือการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่นโดยเฉพาะในสถานที่จัดงานดนตรี  งานมหรสพ  เป็นปัญหาที่ตำบลหนองกราดได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก  การแก้ไขปัญหา คือการแจ้งเตือนให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานของตน  ประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงผลกระทบ  ผลเสียหาย  และโทษที่ได้รับจากการเกิดเหตุทะเลาะวิวาท  การขอความร่วมมือไปยังผู้นำ  การขอกำลังจาก ตำรวจ  ผู้นำ  อปพร.  เพื่อระงับเหตุไม่ให้เกิดความรุ่นแรง  แต่จะไม่ให้เกิดขึ้นเลยยังเป็นปัญหาที่ปัจจุบันไม่สามารถที่จะแก้ไขได้  ทั้งที่มีการร่วมมือกันหลายฝ่าย เป็นเรื่องที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกราดจะต้องหาวิธีที่จะแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนต่อไปตามอำนาจหน้าที่ที่สามารถดำเนินการได้   

                             Ø ด้านยาเสพติด        

                             ปัญหายาเสพติดในตำบลหนองกราด  ยังมีทั้งผู้เสพและผู้ค้า การแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกราดที่สามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น  เช่น  การขอความร่วมมือกับทางผู้นำ  ประชาชนในการณรงค์  การประชาสัมพันธ์  การแจ้งเบาะแส  การฝึกอบรมให้ความรู้  ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่  ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกราดก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด 

 

 การวิเคราะห์ข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          ในพื้นที่ของตำบลหนองกราดส่วนมากเป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูกและที่อยู่อาศัย  และมีพื้นที่มากพอสมควรแต่อีกส่วนหนึ่งเป็นที่สาธารณะประโยชน์  ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่  ก็ได้แก่  ดิน  น้ำ  ต้นไม้  อากาศที่ไม่มีมลพิษ ปัญหาคือ ไม่สามารถที่จะนำน้ำจากใต้ดินมาใช้ในการบริโภคได้ ต้องอาศัยน้ำดิบจากแหล่งอื่น  และน้ำฝน  น้ำในการเกษตรก็ต้องรอฤดูฝน มีแหล่งน้ำใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ  ปัญหาคือยังต้องการแหล่งน้ำเพิ่มเติม

 

      ๓.๒ การประเมินสถานการณ์สภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้อง

3.2.1) การเปลี่ยนแปลงในประเทศที่จะส่งผลกระทบต่อองค์การบริหารส่วนตำบล

- รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะส่งผลต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างไร

- แนวโน้มการยกฐานะจาก องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลทั่วประเทศ

- แนวโน้มการควบรวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีพื้นที่ในตำบลเดียวกันให้มีองค์กรเดียว

- การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการจัดสรรเงินงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

3.2.2) การเปลี่ยนแปลงในระดับภูมิภาคที่จะส่งผลกระทบต่อองค์การบริหารส่วนตำบล

AEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมตัวของชาติในอาเซียน 10 ประเทศ โดยมี ไทยพม่าลาวเวียดนามมาเลเซียสิงคโปร์อินโดนีเซียฟิลิปปินส์กัมพูชาบรูไน เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone นั่นเอง จะทำให้มีผลประโยชน์อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า

ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า (เรียกว่าสินค้าอ่อนไหว)

Asean จะรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมีผลเป็นรูปธรรม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ณ วันนั้นจะทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปอย่างมากโดย AEC Blueprint (แบบพิมพ์เขียว) หรือแนวทางที่จะให้ AEC เป็นไปคือ

1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
2. การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง

3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

จากการที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกราดได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา ไว้จำนวน 5 ยุทธศาสตร์ ดังนั้น จึงวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงในระดับภูมิภาค หรือ การเข้าสู่ AEC ที่จะส่งผลกระทบต่อองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกราดในยุทธศาสตร์ต่างๆ

 

 

 

 

 

 

 

 

ปัจจัยและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนา

          1.1  ผลวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น

                   องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกราด ร่วมกับ คณะทำงานโครงการบูรณาการชุมชนระดับตำบล พ.ศ. 2565 ได้ดำเนินการจัดทำประชาคม  เพื่อจัดทำแผนบูรณาการชุมชนระดับตำบล พ.ศ. 2565 โดยได้แบ่งกลุ่มวิเคราะห์ปัญหา 6 เรื่องด้วยกัน คือ

                   1.  ยาเสพติด

                   2.  สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร

                   3.  สุขภาพ

                   4.  อาชีพเกษตรกรรม ที่ดินทำกิน การว่างงาน

                   5.  การศึกษาท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน องค์ความรู้ท้องถิ่น วัฒนธรรมและศาสนา

                   6.  สิทธิของผู้สูงอายุ เยาวชน สตรี คนด้อยโอกาส กลุ่มเครือข่ายและสื่อชุมชน

 

          1.2    สถานการณ์ทางสังคม  เศรษฐกิจ  เทคโนโลยี  สภาพแวดล้อมในพื้นที่

 

ในด้านสังคม  องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกราด  มีโรงเรียนประถมศึกษา  7  แห่ง  โรงเรียน

มัธยมศึกษา  1  แห่ง สามารถรองรับนักเรียนได้อย่างเพียงพอ   โรงพยาบาล  1  แห่ง  ได้แก่  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกราด    มีป้อมยามตำรวจภูธรประจำตำบล  1  แห่ง

ด้านเศรษฐกิจ  มีที่พักรีสอร์ท  1  แห่ง 

ด้านเทคโนโลยี  มีสัญญาณโทรศัพท์ครอบคลุมทุกพื้นที่ของตำบลครบทุกระบบ

                     ด้านสภาพพื้นที่  ตำบลหนองกราด  พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ปลูกพืชไร่  ได้แก่   ข้าวโพด  อ้อย 

และมันสำปะหลัง

                    1.3 แนวโน้มในอนาคต

                   องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกราด มีพื้นที่  151.26  ตารางกิโลเมตร  ซึ่งนับว่ามีพื้นที่

กว้างขวาง  ดังนั้นจึงมีโอกาสในการรองรับการพัฒนาด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี  เช่น  การพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆ ส่วนในด้านการบริหาร  องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกราดยังมีโอกาสยกระดับเป็นเทศบาลตำบลได้อีกด้วย

1.4  การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงในระดับภูมิภาค  ประเทศ  และต่างประเทศ   ในเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกราด  ดังนี้

 

                   โอกาส  (Opportunities)

  1. โครงการความร่วมมือต่าง ๆ  ในระดับองค์การบริหารส่วนตำบล  อำเภอ  จังหวัด  และ

ภูมิภาค  ส่งผลให้เกิดช่องทางในการเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจ  การค้า  การลงทุน  การท่องเที่ยว  การขนส่ง  และการพัฒนาฝีมือแรงงานมากขึ้น

  1. ขยายปริมาณและเพิ่มประสิทธิภาพของการค้าระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบล  อำเภอ 

จังหวัด  ภูมิภาค  และต่างประเทศ

อุปสรรค/ผลกระทบ (Threats)

  1. โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกตามเมืองยังไม่เอื้อต่อการค้า  การลงทุน 

และการท่องเที่ยว

 2.  ความไม่มั่นใจซึ่งเกิดจากความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศ

Ø แนวทางการแก้ไข 

                   (๑)  การดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกราด

๑)  การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นควรพิจารณาใช้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนามาเป็นกรอบในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นและให้มีความสอดคล้องกัน 

๒)  การดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกราดควรจะให้เป็นไปตามแผนพัฒนาท้องถิ่น กล่าวคือควรจะพิจารณาโครงการ/กิจกรรม  ที่บรรจุในแผนพัฒนาท้องถิ่นมาพิจารณาดำเนินการ

๓)  ไม่ควรบรรจุโครงการ/กิจกรรม ที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่  ในแผนพัฒนาท้องถิ่น 

๔)  ควรพิจารณาโครงการ/กิจกรรม ที่สามารถดำเนินการได้ในปีงบประมาณนั้น 

๕)  ควรพิจารณาดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด 

(๒)  การบริการประชาชน

          ๑)  ควรจัดให้มีสถานที่ในการให้บริการประชาชนอย่างพอเพียง  เช่น  มีจุดบริการและเก้าอี้เพียงพอ  สะดวก  สะอาด  และมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำที่ดี  

          ๒)  ควรพิจารณาจัดบริการประชาชนในเชิงรุกมากขึ้น 

- จำนวนผู้เข้าชม จำนวน 487713 คน ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2563